วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ห่วงที่3: ระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ

ความผิดเล็กๆ น้อยๆ


ของเล่นจากตลาดน้ำ

วันก่อนไปเดินตลาดน้ำอากาศร้อนอบอ้าว  พอดีมีร้านขายพัดโบราณราคาอันละ 20 บาท เป็นพัดที่เราใช้กันทั่วไปสมัยเด็กๆ  เลยซื้อมาอันนึง  จริงๆ ตอนนี้ไม่ค่อยมีใครใช้แล้ว  เห็นมีแต่คนใช้พัดลมมือถือแบบใส่ถ่าน  ราคาอันละ 20 บาทเท่ากัน 
            พอกลับมาบ้านพัดอันนั้นก็ไม่ได้ใช้อีก  เพราะมีพัดลมอยู่ไม่ต้องใช้พัดโบราณให้เมื่อยมือ  เลยหยิบมาดูว่ามันจะใช้ทำอะไรได้อีกบ้าง  แล้วก็คิดถึงตอน สมัยเด็กๆ  พ่อแม่ชอบชี้ให้ดูก้อนเมฆแล้วให้เราจินตนาการถึงสิ่งต่างๆ  รอบตัว เช่น รถ  นก  ต้นไม้  ฯลฯ  ลายของพัดก็เมือนกันทำให้เราจินตนาการสิ่งต่างๆ ได้พอสมควรเช่น รูปหัวใจ  ยานอวกาศ  เกมส์ยิงจรวด ฯลฯ
            ถ้าเราเอาพัดไปรวมกับลูกแก้ว ก็จะได้ของเล่นขึ้นมาอีกชิ้นหนึ่งเอาไว้ให้เด็กฝึกควบคุมให้ลูกแก้วกลิ้งไปกลิ้งมาอยู่บนพัดไม่ให้ตก ถือเป็นการฝึกทักษะทางด้านร่างกายในส่วนของกล้ามเนื้อมัดใหญ่  และกล้ามเนื้อมัดเล็กให้กับเด็กได้  หรือ หากนำมาเล่นในเรื่องของจินตนาการ  พัดนี้ก็คือพัดวิเศษที่เมื่อผู้ที่ถือพัดต้องการสิ่งใดแล้ว โบกพัดไปหนึ่งทีจะเกิดเป็นของสิ่งนั้นขึ้นมา
            ของเล่นของเด็กราคาอาจไม่ต้องแพงมากนัก  เพียงแค่เราใส่วิธีการเล่นลงไปในของใกล้ๆ ตัว  ของเหล่านี้ก็กลายเป็นของเล่นขึ้นมาได้เหมือนกัน  แต่สำหรับคนมีเงินก็ไม่ว่ากันนะครับ  เพราะของเล่นที่มีราคา  ก็มีข้อดีที่แตกต่างกันออกไป
                     
      ครูฤทธิ์  จิตพัฒฯ

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำถามเรื่องลูกร้องไห้ก่อนเข้าโรงเรียน

คำถาม

สวัสดีค่ะ
           มีเรื่องอยากถามหน่อยค่ะ คือลูกชายเวลาที่ไปส่งที่โรงเรียน ก่อนเข้าเรียนมักจะชอบร้องไห้ก่อนเข้าไปเสมอ พอเข้าไปแล้วคุณครูก็บอกว่าไม่ร้องไห้แล้วเป็นแบบนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้วแล้วค่ะ ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร และต้องทำอย่างไรดีค่ะ รบกวนช่วยตอบทีนะคะ

 จากคุณแม่ลูก1ค่ะ 

คำตอบ

             เวลาลูกไปโรงเรียนแล้วร้องไห้ก่อนเข้าโรงเรียนเด็กส่วนมากจะเป็นในช่วงแรกๆ ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ เมื่อเขารู้ว่าทุกวันในเวลานี้ต้องไปโรงเรียน เด็กก็จะเริ่มปรับตัวได้และไม่ร้องไห้ แต่ถ้าร้องไห้นานเป็นปีคงต้องมาสำรวจกันว่าเกิดจากสาเหตุอะไร 
              ปัญหาเด็กไม่อยากไปโรงเรียนมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย แต่จากคำถามที่คุณแม่ส่งมานั้นอาจเกิดจากการ “กลัวการพลัดพราก” ซึ่งโดยมากความกลัวนี้จะเกิดขึ้นกับเด็ก แต่เราอาจพบความกลัวแฝงที่เกิดจากผู้ปกครองได้เหมือนกัน ดังนั้นให้เช็คก่อนว่า ผู้ใหญ่หรือเด็กที่มีความรู้สึกกลัวการพลัดพราก และใครมีมากน้อยเท่าไร 
             การแก้ไข ในที่นี้เนื่องจากครูบอกว่าเข้าเรียนไปก็ไม่ร้องไห้แล้วแปลว่าอยู่ที่โรงเรียนเด็กปรับตัวได้ระดับหนึ่งแล้ว เหลือแค่ตอนส่งจากมือแม่สู่มือครูที่ยังเป็นปัญหา ดังนั้น เราอาจใช้วิธีการแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ ค่อยๆ ลดช่วงเวลาตรงนี้ลง เช่น จาก 10 นาที เป็น 9 นาที จาก 9 นาที เป็น 8 นาที ไปเรื่อย จนเหลือแต่เวลาเตรียมกระเป๋า น้ำ นม ขนม ฯลฯ หรือจะให้ดีขึ้นไปอีก ก็เตรียมตัวพร้อมเข้าโรงเรียนมาตั้งแต่ที่บ้านเลย ถือว่าเป็นการเตรียมใจไปในตัว พอถึงโรงเรียน กายพร้อม กระเป๋าพร้อม ใจพร้อม เข้าโรงเรียนได้เลย แรกๆ เราคงต้องให้เวลาในการแก้ปัญหาซักนิด ให้เวลาทั้งตัวเรา ทั้งตัวลูก แต่พอนานวันเข้าก็จะดีเองครับ สู้ๆ... 


 ครูฤทธิ์ จิตพัฒฯ


สามารถส่งคำถามเกี่ยวกับลูกๆ ของท่านมาได้ที่ Chinaf1111@gmail.com 

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำถามเรื่องลูกแฝด

คำถาม

สวัสดีค่ะ

            ดิฉันมีเรื่องลูกแฝดอยากสอบถามถึงแนวทางแก้ไขค่ะ คือ ดิฉันมีลูกชายฝาแฝดเรียนอยู่อนุบาลแล้วค่ะ (A) เวลาอยู่ที่บ้านจะค่อนข้างขี้อาย และไม่ค่อยอยากทำอะไร ส่วน(B)จะตรงกันข้ามเลยค่ะ แต่พออยู่ที่ รร คุณครูกลับบอกว่าสลับนิสัยกันค่ะ ดิฉันจึงอยากรู้ว่าเป็นปัญหาอะไรไหมคะ และมันเป็นเพราะอะไร และจะแก้ไขอย่างไร หรือปล่อยไปเดี๋ยวจะหายไปเองคะ ตอนนี้เริ่มมีความกังวลแล้วค่ะ

คำตอบ
            ความจริงแล้วเมื่อเด็กเข้าโรงเรียนได้พบเพื่อน  ได้เจอคุณครู  ได้เห็นสิ่งแล้วล้อมใหม่ๆ  เด็กทุกคนจะมีช่วงเวลาของการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม  ซึ่งแต่ละคนก็จะมีช่วงเวลาในการปรับตัวไม่เท่ากัน  และผลลัพธ์ที่ได้จากการปรับตัวก็ไม่เหมือนกันอีกด้วย  จากคำถามที่คุณแม่ถามมาเข้าใจว่า น้อง (A) กับ น้อง (B) น่าจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน เช่น อาจอยู่คนละห้อง  นิสัยตอนอยู่ที่โรงเรียนจึงต่างกัน  แต่ถ้าเป็นห้องเดียวกันน้องจะได้รับประสบการณ์ต่างๆ  ที่คล้ายกันถ้ามีนิสัยแตกต่างกันมากคงต้องลงในรายละเอียดอีกที 

            ส่วนที่บอกว่าเวลาน้องอยู่บ้านเป็นอย่างหนึ่ง พออยู่โรงเรียนสลับกัน  เป็นเพราะเด็กพยายามปรับสมดุลชีวิตของตัวเอง  คนหนึ่งอยู่บ้านแสดงออกมาก ทำนั่นทำนี่มากพออยู่ที่โรงเรียนอาจเห็นว่าทำที่บ้านมากพอแล้วเลยไม่ค่อยอยากทำอะไรที่โรงเรียน  ส่วนอีกคนหนึ่งอยู่บ้านขี้อายไม่ค่อยอยากทำอะไร  พอมาที่โรงเรียน  ทำนั่นทำนี้มาก  เป็นเรื่องปกติครับ  แต่ถ้าสิ่งที่เด็กแสดงออกมานั้นก่อปัญหาขึ้นเช่น ขี้อายจนไม่กล้าทำอะไร (อาจทำให้การเรียนรู้ของเขาด้อยลง)  หรือ แสดงออกมากเกินไปจนรบกวนชั้นเรียน  รบกวนเพื่อน  แสดงออกในเวลาที่ไม่เหมาะสม  คงต้องพิจารณาหาแนวทางแก้ไขกันต่อไปครับ


สามารถส่งคำถามเกี่ยวกับลูกๆ ของท่านมาได้ที่ Chinaf1111@gmail.com 

วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ถาม ตอบ

ตอบปัญหาเด็กไม่พูด


คำถามเรื่องลูกแฝด

คำถามเรื่องลูกร้องไห้ก่อนเข้าโรงเรียน

ห่วงที่2 : การเล่น

ปฏิทิน ตัวช่วยการเขียนเลขสำหรับเด็ก

นิทานที่คุ้นเคย

หน่วยกู้ภัย

นาฬิกาหลอด


เรียนภาษาไทยจากบทเพลง

ลูกข่าง (ดีไซด์ญี่ปุ่น)

บวกลบในเกมส์

ห่วงที่1 : การช่วยเหลือตัวเอง

ดื่ม

ดูด ดูด แล้วก็ดูด


การช่วยเหลือตนเอง

สี่จตุรเทพแห่งการช่วยเหลือตนเอง



แนวคิด

แนวคิด 3 ห่วงพัฒนาการ


สามห่วงพัฒนาการ (เด็ก)




วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หัวใจของความเป็นโค้ช

            เมื่อต้องการให้เด็กไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเวลาที่กำหนด  จากคำว่าครูจึงกลายเป็นคำว่าโค้ช 
            “โค้ช”  ที่ดีย่อมมีหัวใจของความเป็นครูอยู่  เป็นผู้อบรมสั่งสอนให้ลูกศิษย์ได้ดี  ครูและโค้ชแตกต่างกันตรงที่ โค้ชจะมีเป้าหมายสูงกว่าในเวลาที่จำกัด  ความหนักหน่วงของการสอนจึงเริ่มขึ้น  คำว่าโค้ชจึงเกิดขึ้น
            ตามตัวอักษรแล้วจะเห็นว่า “โค้ช” มาจาก  สองพยัญชนะ  สองสระ  อาจมีความหมายว่า คนสองคนคือสระ และ พยัญชนะที่ต้องมารวมอยู่ด้วยกัน  และที่สระและพยัญชนะมีอย่างละสองนั้น  ก็อาจหมายถึง  คนทั้งสองนั้นไม่ได้นำจิตใจของตนเองมาเท่านั้น   แต่เขาทั้งสองคนต่างนำความต้องการของคนอื่นมาด้วย  ตัวอย่างง่ายๆ คือ  นักกีฬาทีมชาติ  ผู้ที่เป็นนักกีฬานั้นไม่ได้นำร่างกายและจิตใจของตนเองมาฝึกเพื่อตนเองเท่านั้น  แต่นักกีฬาเหล่านี้ยังต้องนำความหวังของคนในชาติมาผลักดันตนเองเพื่อให้พวกเขาไปถึงเป้าหมายอีกด้วย 
            ในฝั่งของครูผู้ฝึกสอนก็เช่นเดียวกัน  เขาไม่ได้มาด้วยจิตใจของตนเองและเพื่อความต้องการของตนเองเท่านั้น  แต่ครูเหล่านี้แบกรับสิ่งต่างๆ มากมาย  แบกรับความต้องการของคนหลายๆ คน  จนผลักดันตนเองให้เป็นโค้ชไม่ใช่เพียงแค่ครู  เขาต้องทิ้ง “ร” และ สระ “อู” จนเหลือแต่ “ค”  ต้องทำงานอย่างหนักเหมือนกับเป็น “ค” ถูกคนทั่วไปต่อว่าเหมือนกับเป็น “ค”  ที่ทำไปทั้งหมดก็เพื่อให้ลูกศิษย์ไปถึงเป้าหมายที่หวังไว้
            เมื่อเด็กผู้มีความต้องการของตนเองและผู้อื่น มาพบกับ ครูผู้มีความต้องการของตนเองและผู้อื่น  กระบวนการฝึกฝนตามการจัดเรียงของตัวอักษร “โค้ช” จึงเกิดขึ้น
            “โ”  หมายถึงไม้ที่เอาไว้คอยเฆี่ยนตีลูกศิษย์เพื่อไปตามทิศทางที่กำหนดจนกระทั่งถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้  และที่ใช้สระโอก็เพราะ  ครูนั้นเมื่อเวลาตีลูกศิษย์  “คนถูกตีเจ็บเพียงร่างกาย  คนตีนั้นเจ็บไปถึงหัวใจ”  จึงใช้สัญลักษณ์ของสระโอ  ที่โย้ไปข้างหน้าแล้วจึงตวัดกลับมาด้านหลัง
            “ค”  หมายถึงครูผู้ฝึกสอน
            “้”  หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่โค้ชต้องแบบรับเอาไว้  มันเป็นสัญลักษณ์อันแหลมคมเหมือนกับกำลังจี้ลงมาที่โค้ช  เพื่อให้คิดฝึกซ้อมให้กับลูกศิษย์อยู่ตลอดเวลา 
            “ช”  หมายถึงการฝึกซ้อมทั้งหมดเพื่อให้เกิดความชำนาญ ช่ำชอง  ซึ่งผลสุดท้ายที่ได้นั้นก็เกิดขึ้นกับตัวเด็กเอง  “ช” จึงถูกเติมอยู่ในส่วนท้ายของคำ
            จากที่กล่าวมา  คำว่า “โค้ช” จึงมีความหมายมากกว่าสิ่งที่เราเห็นกันเพียงฉาบฉวย  ผู้ที่เป็นโค้ช ด้วยหัวใจของความเป็นโค้ชเท่านั้น ที่รู้ซึ้งถึงความหมายของมันดี
            “ครูที่ดีนั้นหายากอย่างไร  โค้ชที่ดีก็หายากอย่างนั้น”


                                                                                                                        ครูฤทธิ์...

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สินค้าและบริการ

1. รับปรึกษาการส่งเสริมพัฒนาการ เด็กปกติ เด็กพิเศษ และ เด็ก IQ สูง (ทางโทรศัพท์)

ราคา     2000 บาท/1 ชั่วโมง
วันทำการ    วันจันทร์ ถึง ศุกร์
เวลาทำการ    9 โมงเช้า ถึง 4 โมงเย็น


เบอร์ติดต่อ  0646641996 ครูฤทธิ์ (นักจิตวิทยาพัฒนาการ)




โปรโมชั่นสำหรับลูกค้าใหม่ โทรมาวันนี้ปรึกษา ฟรี 1 ชั่วโมง