วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จินตนาการใน dot

ในสามห่วงพัฒนาการนั้น  เด็กที่ติดอยู่ในห่วงของ การช่วยเหลือตนเอง ส่วนมากมักจะเป็นเด็กพิเศษ  แต่เด็กที่หลุดจากห่วงของการช่วยเหลือตนเองแล้วมาติดอยู่ในห่วงของ การเล่น ส่วนใหญ่คือเด็กอัจฉริยะ  (ในทางวิชาการก็เรียกเด็กพิเศษเหมือนกันแต่โดยนัยแล้วต่างกันคนละขั้วเลย)
การเล่นอย่างหนึ่งของเด็กอัจฉริยะคือการใช้จินตนาการ  มีเรื่องราว  มีรูปแบบความคิดที่สร้างความแตกต่าง  ทั้งนี้เจ้าตัวไม่รู้เลยว่าการที่เขาคิดเช่นนั้นทำให้สมองของเขาพัฒนาและมีศักยภาพมากกว่าเด็กคนอื่นๆ  นานวันเข้าความชำนาญในรูปแบบความคิดนั้นๆ  จึงเพิ่มพูนขึ้น  เมื่อโอกาสมาถึงทุกคนรอบตัวเขาจึงรู้ว่าเขาเป็นเด็กไม่ธรรมดา
การใช้จินตนาการหรือรูปแบบความคิดอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือการคิดแบบ dot ซึ่งเป็นรูปแบบความคิดที่จำลองมาจากภาพการเจริญเติบโตของสมองเด็กแรกเกิดจนถึงห้าขวบ  โดยแนวคิดที่ว่า  เซลล์ประสาทเป็นจุดหลายๆ จุดในสมอง  เมื่อแรกเริ่มนั้นต่างคนต่างลอยตัวอยู่ในช่องว่าง(หัวกะโหลก)จนกระทั่งมีความคิดแรกเกิดขึ้น  การเชื่อมโยงจึงเริ่มเกิดขึ้นจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งและจุดต่อๆ ไปตามเรื่องราวต่างๆ  ที่ได้รับรู้  จุดไหนเรื่องไหนใช้บ่อยก็เกิดความจำและความชำนาญ  ใช้บ่อยและใช้เชื่อมโยงกับจุดอื่นๆ ก็เกิดความรอบรู้  การคิดแบบ dot จึงเสมือนการมองไปที่จุดเริ่มต้นและค่อยๆ สร้างรูปร่าง  รูปแบบ หรือเรื่องราวจากการเชื่อมโยงกันของ dot
รูปแบบพื้นฐานของ dot สองมิติ
ตัวอย่างการใช้งาน dot เช่น การวาดรูป  การสร้างโมเดล  การท่องสูตรคูณ  ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น