เมื่อต้องการให้เด็กไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเวลาที่กำหนด จากคำว่าครูจึงกลายเป็นคำว่าโค้ช
“โค้ช” ที่ดีย่อมมีหัวใจของความเป็นครูอยู่ เป็นผู้อบรมสั่งสอนให้ลูกศิษย์ได้ดี ครูและโค้ชแตกต่างกันตรงที่
โค้ชจะมีเป้าหมายสูงกว่าในเวลาที่จำกัด
ความหนักหน่วงของการสอนจึงเริ่มขึ้น
คำว่าโค้ชจึงเกิดขึ้น
ตามตัวอักษรแล้วจะเห็นว่า
“โค้ช” มาจาก สองพยัญชนะ สองสระ
อาจมีความหมายว่า คนสองคนคือสระ และ พยัญชนะที่ต้องมารวมอยู่ด้วยกัน และที่สระและพยัญชนะมีอย่างละสองนั้น ก็อาจหมายถึง
คนทั้งสองนั้นไม่ได้นำจิตใจของตนเองมาเท่านั้น
แต่เขาทั้งสองคนต่างนำความต้องการของคนอื่นมาด้วย ตัวอย่างง่ายๆ คือ นักกีฬาทีมชาติ
ผู้ที่เป็นนักกีฬานั้นไม่ได้นำร่างกายและจิตใจของตนเองมาฝึกเพื่อตนเองเท่านั้น แต่นักกีฬาเหล่านี้ยังต้องนำความหวังของคนในชาติมาผลักดันตนเองเพื่อให้พวกเขาไปถึงเป้าหมายอีกด้วย
ในฝั่งของครูผู้ฝึกสอนก็เช่นเดียวกัน
เขาไม่ได้มาด้วยจิตใจของตนเองและเพื่อความต้องการของตนเองเท่านั้น แต่ครูเหล่านี้แบกรับสิ่งต่างๆ มากมาย แบกรับความต้องการของคนหลายๆ คน
จนผลักดันตนเองให้เป็นโค้ชไม่ใช่เพียงแค่ครู เขาต้องทิ้ง “ร” และ สระ “อู” จนเหลือแต่
“ค” ต้องทำงานอย่างหนักเหมือนกับเป็น “ค”
ถูกคนทั่วไปต่อว่าเหมือนกับเป็น “ค” ที่ทำไปทั้งหมดก็เพื่อให้ลูกศิษย์ไปถึงเป้าหมายที่หวังไว้
เมื่อเด็กผู้มีความต้องการของตนเองและผู้อื่น
มาพบกับ ครูผู้มีความต้องการของตนเองและผู้อื่น กระบวนการฝึกฝนตามการจัดเรียงของตัวอักษร “โค้ช”
จึงเกิดขึ้น
“โ”
หมายถึงไม้ที่เอาไว้คอยเฆี่ยนตีลูกศิษย์เพื่อไปตามทิศทางที่กำหนดจนกระทั่งถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ และที่ใช้สระโอก็เพราะ ครูนั้นเมื่อเวลาตีลูกศิษย์ “คนถูกตีเจ็บเพียงร่างกาย คนตีนั้นเจ็บไปถึงหัวใจ” จึงใช้สัญลักษณ์ของสระโอ ที่โย้ไปข้างหน้าแล้วจึงตวัดกลับมาด้านหลัง
“ค” หมายถึงครูผู้ฝึกสอน
“้” หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่โค้ชต้องแบบรับเอาไว้
มันเป็นสัญลักษณ์อันแหลมคมเหมือนกับกำลังจี้ลงมาที่โค้ช
เพื่อให้คิดฝึกซ้อมให้กับลูกศิษย์อยู่ตลอดเวลา
“ช” หมายถึงการฝึกซ้อมทั้งหมดเพื่อให้เกิดความชำนาญ
ช่ำชอง
ซึ่งผลสุดท้ายที่ได้นั้นก็เกิดขึ้นกับตัวเด็กเอง “ช” จึงถูกเติมอยู่ในส่วนท้ายของคำ
จากที่กล่าวมา คำว่า “โค้ช”
จึงมีความหมายมากกว่าสิ่งที่เราเห็นกันเพียงฉาบฉวย ผู้ที่เป็นโค้ช
ด้วยหัวใจของความเป็นโค้ชเท่านั้น ที่รู้ซึ้งถึงความหมายของมันดี
“ครูที่ดีนั้นหายากอย่างไร โค้ชที่ดีก็หายากอย่างนั้น”
ครูฤทธิ์...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น