การข่มใจ การให้ ขอบเขต
ห่วงแรกการข่มใจ ใครๆก็ทำได้อยู่ที่การฝึกฝนและประสบการณ์
เอาแต่ใจส่วนใหญ่ใช้กับเด็กที่ชอบใช้อารมณ์ อยากได้นั่นนี่แล้วต้องเอาให้ได้ ไม่ค่อยสนใจสิ่งแวดล้อมหรือคนอื่นๆ
ซึ่งโดยปกติแล้วเด็กทุกคนจะเอาแต่ใจก่อนแล้วค่อยๆเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมจนความเอาแต่ใจลดน้อยลง
เด็กที่เอาแต่ใจส่วนใหญ่ไม่รู้จักการข่มใจ ไม่รู้จักข่มใจเพราะไม่ได้รับการขัดใจ
เด็กที่เกิดมาเขาจะเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม ถ้าอยากได้อะไรแล้วสิ่งแวดล้อม
(อาจเป็นพ่อแม่หรือบุคคลที่อยู่รอบตัวเขา) ขัดใจจะทำให้รู้สึกทุกข์ใจ คราวหน้าก็จะเรียนรู้ว่าทำอย่างไรที่จะไม่ให้ถูกขัดใจ
ต้องคิดหาวิธีการเลี่ยงไปตอบสนองความอยากของตนเอง โดยข่มใจไว้ก่อนแล้วคิดหาวิธีการ
ทำอย่างนี้แล้วทำให้เด็กรู้จักคิดมากขึ้นมองไกลขึ้น
แต่ถ้าอยากได้อะไรแล้วสิ่งแวดล้อมไม่ขัดใจ ตอบสนองให้ความต้องการของเขาง่ายๆ
เด็กไม่ต้องคิดหาวิธีการต่างๆ อาจทำให้กลายเป็นคนที่มองอะไรใกล้ๆ คิดสั้นๆ เพราะเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมบ่อยๆ
ว่า "ทำแค่นี้ก็ได้แล้ว"
ห่วงที่สองการให้ พ่อแม่บางคนบอกว่าสอนให้เอาของไปให้คนโน้นคนนี้ตั้งมากแล้วหมดไปกับการสอนอย่างนี้แล้วลูกยังไม่รู้จักให้
ไม่รู้ทำไม นั่นเพราะเขายังไม่รู้จักการให้ที่ต้องให้ของที่เป็นของๆ เขา เขารู้จักแต่เอาไปให้เพราะแบ่งไว้ให้แล้วว่า
นี่ของลูกนะ นี่สำหรับคนนั้นคนนี้ แต่ถ้าเราให้เป็นของๆ
เขาแล้วในขณะที่เขาไม่อยากแบ่งปันเห็นว่าสิ่งๆนั้นเป็นของๆ เขาอยู่ แล้วเขาสามารถแบ่งปันได้
เด็กจะรู้จักการให้ที่ไม่ใช่การเอาไปให้
ห่วงที่สามขอบเขต
ขอบเขตของการข่มใจในที่นี้ คือถ้าเกิดความอยากหรือต้องการอะไรแล้วข่มใจไม่ทำตามความอยากหรือความต้องการนั้นได้
ขอบเขตของการให้ในที่นี้ คือ
ต้องให้ในสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นของเขา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น