การเป็นพ่อเป็นแม่นั้นถ้าเราแบ่งออกเป็นสองความหมายอาจแบ่งได้ว่า
พ่อแม่ที่ให้กำเนิด กับ พ่อแม่ที่ให้การเลี้ยงดู
การเป็นพ่อแม่ที่ให้กำเนิดนั้นเด็กทุกคนที่เกิดมาย่อมมีพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดอยู่แล้วและส่วนมากก็จะเป็นพ่อแม่ที่ให้การเลี้ยงดูด้วย แต่ในเด็กอีกหลายคนก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น พ่อแม่บางคนไม่มีความพร้อมในการเลี้ยงดู...
แล้วถ้าเรามีความพร้อมในการเลี้ยงดู เราควรทำอย่างไร?
ในที่นี้
ขอแนะนำว่าให้เลี้ยงดูตามความพร้อมที่เรามีโดยให้เลี้ยงดูส่งเสริมในสองด้านคือ กำลังกายและกำลังสติปัญญา กำลังกายเราอาจให้การกินการอยู่ที่ดีกับเขา ให้สิ่งแวดล้อมที่ดี ให้กิจกรรมที่ส่งเสริมความเจริญทางร่างกาย คอยเฝ้ามองเห็นการเจริญเติบโตของเขา แล้วการส่งเสริมกำลังสติปัญญาล่ะ!
ยากนะ
การส่งเสริมกำลังสติปัญญาเพราะเด็กแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันออกไป บางคนสอนอะไรก็ทำอย่างนั้น บางคนสอนอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง บางคนสอนไปเข้าใจทั้งหมด บางคนสอนไปเข้าใจบางส่วน บางคนมีความพยายาม บางคนไม่มีความพยายาม บางคนไม่ให้ความสนใจ บางคนสนใจแต่ไม่เข้าใจ ฯลฯ มากมายหลายกรณีจนเป็นที่ปวดหัวของผู้สอน จึงมีคนบอกไว้ว่า "เราได้แต่สอน(ได้แต่บอก)"
เมื่อบอกแล้วเขาจะคิดจะทำอย่างไรขึ้นอยู่ที่เขา การส่งเสริมกำลังสติปัญญาจึงเป็นเรื่องยากและไม่มีตัววัดที่ชัดเจนเพราะถึงแม้เราจะพยายามส่งเสริมเขาในทุกๆ
ด้าน ทุกๆ
แง่มุมแล้วกำลังสติปัญญาก็ไม่ได้แสดงออกมาให้เห็นเหมือนกับส่วนสูงและน้ำหนัก
ในอดีตเมื่อนานมาแล้ว ด้วยความยาก พ่อแม่ที่ให้กำเนิดเกรงว่าตนเองจะส่งเสริมกำลังสติปัญญาให้กับลูกได้ไม่ดีจึงมักนำไปฝากไว้กับครูหรืออาจารย์ที่มีชื่อเสียง
ฝากให้อยู่ให้กินที่บ้านของอาจารย์กันเลยทีเดียว
เมื่อลูกศิษย์ได้เรียนรู้ผ่านการซึมซับทั้งกลางวันกลางคืน ได้เห็นการกระทำของอาจารย์ ได้รับฟังคำสอน แง่คิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
ทั้งที่เห็นได้สัมผัสได้ และสิ่งที่เห็นไม่ได้สัมผัสไม่ได้ นานวันเข้ากำลังสติปัญญาของผู้เป็นอาจารย์จึงถูกถ่ายทอดมายังลูกศิษย์ การสอนยังไม่จบเพียงเท่านั้น ศิษย์มีความคิดความอ่านพอสมควรแก่การเรียนรู้โลกกว้างแล้ว อาจารย์จะบอกว่า "เจ้าจงไป จงนำวิชาความรู้ที่เจ้ามีไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น"
ลูกศิษย์ที่นำความรู้ไปใช้จึงได้เรียนรู้สิ่งที่อาจารย์ต้องการจะสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น