การเล่น เพื่อพัฒนาการทางด้านต่างๆ
ร่างกาย เมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ พลังงานที่เขาได้รับมาจากการรับประทานอาหารก็จะถูกใช้งานอย่างเต็มที่ ซึ่งปกติแล้วเด็กส่วนใหญ่จะไม่รู้จักการออมแรง เขามักทำสิ่งต่างๆ อย่างเต็มความสามารถ ไม่มีความกังวลเรื่องอื่นนอกเหนือจากเรื่องที่กำลังทำอยู่ เขาจะเรียนรู้การใช้ร่างกายได้จากการทำกิจกรรมนี้เอง ดังนั้นยิ่งได้ทำกิจกรรมหลากหลาย เขาก็จะยิ่งได้เรียนรู้ร่างกายของตนเองมากตามไปด้วย
อารมณ์อยากรู้อยากเห็น เป็นอารมณ์ของเด็กที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของเด็กโดยตรง เมื่อใดที่เด็กเริ่มอยากรู้อยากเห็น เขาก็จะเริ่มแสวงหา พัฒนาการก็จะเริ่มต้นจากตรงนี้เอง
สังคมของเด็กจะเริ่มจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กที่สุดก่อน แล้วขยายวงกว้างออกไปตามความสามารถและความจำเป็นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น เมื่อแรกเกิด มีแม่กับลูก นอนบนเตียง มีตุ๊กตาหมีเป็นเพื่อน คลานได้ก็เริ่มมีสังคมกว้างขึ้น เดินได้ก็กว้างขึ้นอีก จนไปโรงเรียนได้
สติปัญญา ถ้าหัวโตไม่ได้เกิดเพราะบวมน้ำหรือเป็นโรคก็อาจอนุมานได้ว่าเป็นคนหัวดีมีสติปัญญามาก นี่คือพันธุกรรม(พันธุ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง) อีกครึ่งต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมในเรื่องของการเรียนรู้ รู้มากจำได้มากตอบสนองรวดเร็วถูกต้อง ก็เรียกว่ามีสติปัญญาดี
การช่วยเหลือตนเอง
กิจวัตรประจำวัน เช่น กินข้าว อาบน้ำแต่งตัว เข้าครัวหาอาหาร ล้างจาน ทำความสะอาดห้องนอน ห้องนั่งเล่น(ถ้ามี) รู้จักหากิจกรรมยามว่างทำเอง (เล่นเองเป็นไม่ต้องสอนหรือแนะนำให้เล่นเหมือนเด็กพิเศษบางประเภท) ถ้าเด็กทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้เอง ด้วยตัวเอง ก็จะเป็นการลดภาระให้กับบุคคลรอบข้างได้มาก และถือว่าเป็นเด็กที่มีพัฒนาการที่ดี
ระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ ห่วงใหญ่ที่ควบคุมอีกสองห่วง
ในทุกๆ การเล่น ทุกๆ กิจกรรมที่เด็กทำ เขาจะต้องรู้กฎเกณฑ์ว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองได้ทำลงไป เช่น เล่นของเล่นเสร็จแล้วต้องรู้จักเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย ไม่เป็นภาระหรือปัดความรับผิดชอบให้คนอื่นมาเก็บให้ (ในเรื่องความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันจะเอาไว้พูดทีหลัง) จึงเรียกว่ามีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น