จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเราเป็นเด็กปกติหรือเปล่า
(กระแสเด็กพิเศษช่วงนี้กำลังมาแรงจนทำให้แม่บางคนเกิดอาการวิตกจริตคิดไปไกลว่าลูกของเราอาจเป็นบ้างก็ได้)
ก่อนอื่นมาดูนิยามของคำว่าเด็กพิเศษก่อน ก็คือเด็กที่มีพฤติกรรมหรือพัฒนาการเบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์ปกติ แล้วที่ว่าเกณฑ์ปกติเราเอามาจากที่ไหน
ก็เอามาจากการทำสถิติของผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เช่น นักจิตวิทยา นักพัฒนาการ
แพทย์ พยาบาล ฯลฯ ที่สำคัญก็คือสถิติต่างๆ
เหล่านี้ต้องได้รับการยอมรับทางสังคมหมู่มากด้วยจึงจะนำมาเป็นเกณฑ์ได้
เรื่องกฎเกณฑ์ต่างๆ นี้เป็นเรื่องที่พูดยาก ถ้าให้ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ
อาจยกตัวอย่างได้จากเกณฑ์การแต่งตัวไปงานศพ
กับงานแต่ง หรือการแต่งตัวไปวัดนั่งฟังพระเทศ ไม่มีการกำหนดแน่นอนตายตัวแค่บอกว่าไปงาน
ศพต้องแต่งชุดดำหรือชุดขาว
ไปงานแต่งไม่แต่งชุดให้เหมือนไปงานศพ
หรือไปวัดควรแต่งตัวให้สุภาพไม่แต่งตัวไปชวนพระสึก เป็นต้น
เกณฑ์ของเด็กปกติก็เช่นกัน
เขาเพียงตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมาคร่าวๆ เท่านั้น
ว่าอายุเท่านี้เด็กควรทำอะไรได้บ้าง
อายุเท่านั้นเด็กควรมีพฤติกรรมอย่างไร
ไม่ได้กำหนดตายตัวว่าอายุเท่านี้เด็กต้องทำอย่างนี้ได้ อายุเท่านั้นเด็กต้องมีพฤติกรรมอย่างนั้น
เด็กที่มีพัฒนาการบางด้านสูงกว่าเกณฑ์ปกติก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป
พ่อแม่ผู้ปกครองพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่าลูกของเราควรมีพัฒนาการที่เหมาะสมในทุกๆ
ด้าน ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป
มีความพอดีอย่างที่เด็กควรจะเป็นนั้นดีที่สุด
เพราะการที่เด็กมีพัฒนาการบางด้านสูงกว่าเกณฑ์นั้นก็หมายความว่าเด็กให้เวลากับพัฒนาการในด้านนั้นๆ
มาก ก็อาจแปลอีกความหมายหนึ่งว่า ให้ความสำคัญกับพัฒนาการในด้านอื่นๆ น้อยลงนั้นเอง เพราะเด็ก 5 ขวบ ย่อมมีเวลาในการพัฒนาสิ่งต่างๆ เป็นเวลา 5 ปีเท่ากัน
หลงประเด็นมานาน
เข้าเรื่องเลยละกัน
เด็กพิเศษในปัจจุบัน เช่น แอลดี
เอสเบอร์เจอร์ ไฮเปอร์
ออทิสติก หรือดาวซินโดรม (ไม่รวมพวกไอคิวสูง) มักตัดสินว่าเป็นหรือไม่เป็นที่พัฒนาการ 2
อย่างนี้ คือ 1 สังคม 2 ภาษา คือเด็กบางคนภาษาดีแต่ไม่มีสังคม เด็กบางคนสังคมดีแต่ไม่ภาษา หรือบางคนหาดีไม่ได้เลยทั้งสังคมและภาษา ก็แนะนำให้หาหมอดีกว่านะครับอย่างนี้ ตรวจประเมินเด็กซะจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที
แล้วจะดูอย่างไร?
ด้านสังคม ดูว่า สบตา อ้าปากอยากสนทนา หาทางมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างด้วยวิธีการที่ถูกต้องหรือไม่ เป็นต้น
เพราะเด็กบางคนสอนการทักทายเพื่อนด้วยวิธีที่ถูกต้องไปแล้วหลายครั้งก็ยังทำการทักทายด้วยปลายเท้าบ้าง ขว้างปาสิ่งของไปใส่คนที่ตนสนใจบ้าง สร้างความรำคาญให้กับคนรอบข้างบ้าง อย่างนี้ไม่ใช่วิธีการเข้าสังคมที่ถูกต้อง
ด้านภาษา ดูว่า
เปล่งเสียง เล่นเสียง เลียนเสียง ได้ก่อน 1
ขวบหรือไม่ พูดเป็นคำนำไปใช้ได้ก่อน 2
ขวบหรือไม่ ถ้าทำได้ก็หายห่วง
เปล่งเสียง เป็นอย่างไร ก็คือ
เสียงอะไรก็ได้ที่เล็ดลอดออกมาจากปากเด็กถือว่าใช้ได้
เล่นเสียง ก็คือ เปล่งเสียงออกเป็นเสียงสระรูปต่างๆ หรือวรรณยุกต์รูปต่างๆ เช่น อา
อื๋อ อู๋ อ้อ แอ้ เป็นต้น เลียนเสียง ก็คือ ได้ยินเสียงอะไรแล้วพยายามออกเสียงตามที่ได้ยิน
พูดเป็นคำ ก็คือ พูดเป็นคำและรู้ความหมายของคำที่พูด เช่น
เมื่อเด็กมองเห็นแม่แล้วจึงเปล่งเสียงคำว่า “แม่” ไม่ใช่ว่า
เมื่อเด็กมองเห็นขวดนมหรือขนมแล้วเปล่งเสียงคำว่า “แม่” แปลว่าเด็กยังไม่รู้ความหมาย
นำไปใช้ได้ ก็คือ เด็กสามารถนำคำต่างๆ มาใช้พูดเป็นวลี หรือเป็นประโยคได้ เช่น
“กินข้าว” “หิวข้าว” “หนูอยากกินนั่น” “หนูอยากกินนี่” เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการประเมินจากหลักการดังกล่าวเป็นเพียงการประเมินเบื้องต้นเท่านั้น
ถ้าเด็กมีพัฒนาการที่เห็นว่าเบี่ยงเบนไปจากเด็กข้างบ้านมากจนผิดสังเกตหรือมีคนมาเตือนก็อาจพาเด็กไปพบแพทย์
หรือนักจิตวิทยา
เพื่อทำการตรวจประเมินโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น