เมื่อห่วงของการเล่นได้รับการตีความไปอยู่ในห่วงของการช่วยเหลือตัวเอง ปัจจัยที่ 5 จึงเกิดขึ้น
ตั้งแต่เด็กจนโตการช่วยเหลือตัวเองนั้นเริ่มจากการที่เด็กดูดนมได้เอง เคลื่อนไหวไปยังที่ต่างๆ ได้เอง กินอาหารดื่มน้ำได้ ทำความสะอาดร่างกายอาบน้ำ แปลงฟัน แต่งตัว
ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมรอบตัว บอกความต้องการได้
รู้จักสิ่งต่างๆ รอบตัว
รู้จักภาษา รู้จักรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
รู้จักหน้าที่ของตัวเอง
ไปจนถึงรู้จักหากิน หาใช้ เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัย4 รวมไปถึงการดูแลรักษาซ่อมแซม (เสื้อผ้ามีไว้เพื่อปกปิดไม่ให้เกิดความละอาย กันแมลงสัตว์กัดต่อย บ้านมีไว้เพียงเพื่อกันแดดกันลมกันฝนและสัตว์ต่างๆ อาหารการกินมีไว้เพื่อไม่ต้องหิวไส้กิ่ว ส่วนยารักษาโรคมีไว้เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด)
ส่วนการเล่นนั้นก็คือการกระทำอื่นๆ
ที่นอกเหนือไปจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เช่น
เราอาจทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งบ้านหลังใหญ่ๆ
มีเสื้อผ้าสวยๆ ใส่
มีเครื่องประดับ
มีเฟอร์นิเจอร์ราคาแพง กินอาหารดีๆ อร่อยๆ
มีประโยชน์ต่อร่างกายต่อสมองและเครื่องใน
เวลาเจ็บป่วยก็ไปหาหมอดังๆ
ใช้ยาแพงๆ เป็นต้น
ส่วนในเด็กอาจเป็นการดูทีวี
เล่นเกมส์ กินขนม เล่นของเล่น
สุดแท้แต่กิจกรรมของแต่ละคน
อย่างไรก็ตามความหมายของห่วงทั้งสองที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการให้ความหมายไว้คร่าวๆ
ซึ่งความหมายของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันออกไปตามสังคม วัฒนธรรม
สิ่งแวดล้อมที่เราอยู่อาศัย เช่น
บางคนต้องเข้าสังคมก็ต้องมีเสื้อผ้าดีๆ เหมาะสมกับสถานที่ที่เราไป บางคนมีความจำเป็นในการติดต่อสื่อสารก็ต้องมีโทรศัพท์ บางคนมีการเดินทางที่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือการมีคอมพิวเตอร์ไว้จัดการงานเอกสารการทำงาน
เป็นต้น
ปัจจัยที่5
ก็เกิดขึ้นจากสังคม
วัฒนธรรม และความเคยชินของเรา ที่เมื่อกินใช้อย่างไรไปนานวันเข้า จะรู้สึกว่าสิ่งๆ
นั้นมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต และขาดไม่ได้
ความจำเป็นของชีวิตที่เดิมมีเพียงปัจจัย 4 จึงถูกเพิ่มเติมเป็นปัจจัยที่5
ที่6... ไปเรื่อยๆ
ไม่มีที่สิ้นสุด จนบางครั้งก่อปัญหาให้กับเรา
ดังนั้นเมื่อใดที่ชีวิตเริ่มมีปัญหาเกิดขึ้นจนยากจะแก้ไข เราอาจย้อนกลับมาดูว่าห่วงของการช่วยเหลือตนเอง
(เรื่องที่จำเป็น) กับห่วงของการเล่น เราให้ความหมายไว้อย่างไร ปัญหาทุกอย่างจึงถูกเขียนออกมาให้เห็นได้ชัดเจน ดังคำกล่าวที่ว่า “เมื่อรู้ต้นเหตุของปัญหา นั่นหมายความว่าเราแก้ไขปัญหาได้แล้ว
50%”
ครูฤทธิ์ จิตพัฒฯ